
COP26 การประชุมเพื่อโลกสีเขียว (Climate Change)
นอกเหนือจากวิกฤตการณ์โควิด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกหนึ่งวิกฤตที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ ถือได้ว่าเป็นวาระของชาติ เลยก็ว่าได้ ซึ่งสถานการณ์ยิ่งทวีคูณ รุนแรงขึ้นทุกวันทั้งระดับน้ำทะเลและสภาพอากาศสุดขั้วในเดือน พ.ย. นี้ ด้วยสถานการณ์นี้จึงได้มีการหารือเกี่ยวกับ COP26 การประชุมเพื่อโลกสีเขียว (Climate Change)
ผู้นำกว่า 196 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จะเข้าร่วมการประชุมสมัชชาภาคี แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทย ข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยระบุว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยความเสียหายระหว่างปี 2542 ถึง 2561 เป็นจำนวนเงิน 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 240,000 ล้านบาท) โอกาสขาดทุนถึง 15% ผลผลิตทางการเกษตรหลัก ของประเทศจากภัยแล้ง
สำหรับการประชุม COP26 ประเทศไทย ได้เข้าร่วมใน Climate Change societythit มาตั้งแต่ปี 2535 และยังคงทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7-20% จากปกติก่อนหน้านี้ ปี 2563 และลดลงเหลือ 20-25% ของปกติในอีก 50 ปีข้างหน้า โดยภาคขนส่งและพลังงานของไทยเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 2 ใน 3 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด รองลงมาคือการเกษตร ปัจจุบันประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและพลังงานได้ตามเป้าหมายที่ 17%
ผลกกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศมีอะไรบ้าง
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากมนุษย์มีตั้งแต่ความแห้งแล้ง รุนแรงไปจนถึงพายุหิมะที่พัดถล่มเมืองต่างๆ เมื่อความถี่ของภัยธรรมชาติเหล่านี้เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงกำลังเปลี่ยนแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก มนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ อุณหภูมิมหาสมุทรที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง อากาศที่แห้งแล้งในหลายพื้นที่ทำให้การฟื้นฟูของสภาพป่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้เป็นเรื่องยากขึ้น (หรือบางที่ก็เป็นไปไม่ได้เลย) บ้านของสัตว์ตามธรรมชาติมีขนาดลดลง และไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตอีกต่อไป

อะไรคือสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
สาเเหตุหลัก ๆ เลยก็คือ มนุษย์ ถึงแม้ปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่มีหลักฐานมากมาย ที่ชี้บอกว่าสิ่งที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น คือผลงานของมนุษย์ทั้งสิ้น เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมของมนุษย์เอง โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า รวมถึง การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เป็นต้น
สรุป COP26 (Climate Change)
การประชุม COP26 ที่กำลังจะเกิดขึ้นจะมีทิศทางอย่างไรต่อไปเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากความร่วมมือระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุง แก้ไข กำหนดนโยบายและมาตรการของประเทศที่เป็นภาคี ซึ่งอยู่ไม่ไกลเกินเราทุกคนแต่อย่างใด ทุกภาคส่วนต้องเตรียมพร้อมรับมือ
ในส่วนของรัฐบาลเอง ควรเร่งนโยบายที่เน้นการส่งเสริมการผลิตที่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และมลพิษ (Decarbonization) ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ประเทศไทยมีโอกาส และศักยภาพในการเติบโต สำหรับภาคธุรกิจ การปรับธุรกิจ ควรปลูกฝังให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในระยะสั้น อาจส่งผลกระทบบ้าง แต่ในแง่ของต้นทุนในการปรับตัว จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวอย่างแน่นอน เพราะสุดท้ายแล้วไม่มีประเทศใดไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก รวยหรือจน ก็จะได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์นี้ หากไม่ปรับตัวและเตรียมรับมือกับมัน
More Stories